• Home
  • Quick Links
  • Español
  • Français
  • Português
  • คนไทย
  • Join the Movement
  • Local Roadmaps
  • About
  • News & Media
  • Toolkit
  • Contact
  • More
    • Home
    • Quick Links
    • Español
    • Français
    • Português
    • คนไทย
    • Join the Movement
    • Local Roadmaps
    • About
    • News & Media
    • Toolkit
    • Contact
  • Home
  • Quick Links
  • Español
  • Français
  • Português
  • คนไทย
  • Join the Movement
  • Local Roadmaps
  • About
  • News & Media
  • Toolkit
  • Contact

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอาหารที่เป็นธรรม: สมุดปกขาวและแผนงาน

บอกลาการผลิตสัตว์เชิงอุตสาหกรรม สู่ระบบอาหารที่เป็นธรรม มนุษยธรรม และยั่งยืน 

  สิ่งที่เรากำลังเรียกร้อง   .   ลิ้งก์   .  ร่วมมือกับเรา

งานด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) ของเรา  .  ผู้เขียน

ผู้มีส่วนร่วม  .  ผู้รับรอง  .  ติดต่อ

สิ่งที่เรากำลังเรียกร้อง

ปัจจุบัน ระบบการผลิตสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการทำประมงและการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบอุตสาหกรรม ต่างมุ่งเน้นผลิตเนื้อสัตว์ นม ไข่ และอาหารทะเลในปริมาณมาก แต่คุณภาพต่ำ เพื่อเพิ่มกำไรให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ ความพยายามกดต้นทุนให้ต่ำที่สุดได้ส่งผลกระทบต่อแรงงาน ชุมชน สวัสดิภาพของคนและสัตว์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ระบบนี้เต็มไปด้วยความไม่เป็นธรรม ไร้ประสิทธิภาพ มีข้อบกพร่องทางการเงิน และไม่ยั่งยืนต่อโลกของเรา


เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยองค์กรภาคประชาสังคมที่มีเป้าหมายร่วมกันในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงจานอาหาร โดยมุ่งปกป้องและส่งเสริมสิทธิของเกษตรกรรายย่อย ชาวประมง ชาวนา แรงงานในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์ เยาวชน และกลุ่มเปราะบางอื่นๆ พร้อมกับสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับโลกของเราทุกคน


เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) เอกสารฉบับนี้ได้ผ่านกระบวนการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางกับชุมชนและผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยมีตัวแทนกว่า 120 คน จาก 72 องค์กรใน 35 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งรวมถึงกลุ่มเยาวชน ผู้หญิง เกษตรกร และแรงงาน ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเนื้อหาเอกสารฉบับนี้ให้ครอบคลุมและสะท้อนถึงความต้องการของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง


เอกสารฉบับนี้เป็นกรอบแนวทางระดับโลกของเราที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแผนงานในระดับท้องถิ่นที่เหมาะสมกับบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เป้าหมายของเราคือการยุติระบบการผลิตสัตว์เชิงอุตสาหกรรม และเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอาหารที่พร้อมรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงบริหารจัดการโดยชุมชนแบบประชาธิปไตย และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ ส่งเสริมสิทธิของแรงงาน และเสริมสร้างอธิปไตยทางอาหารที่มั่นคงในระยะยาว

3 แนวทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ:

  • เสริมสร้างการกำกับดูแลระบบอาหาร: เรามุ่งท้าทายการครอบงำระบบอาหารโดยบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ด้วยการผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมความโปร่งใสและเรียกร้องความรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากบริษัทเหล่านี้ ขณะเดียวกัน เรายังสนับสนุนระบบอาหารท้องถิ่นแบบดั้งเดิม ตลอดจนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


  • ส่งเสริมการเกษตรเชิงนิเวศ: เพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม เราจะยึดหลักการเกษตรเชิงนิเวศ (Agroecology) เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ปกป้องสิ่งแวดล้อม และดูแลสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจว่าอธิปไตยทางอาหารสามารถตอบสนองความมั่นคงทางอาหารได้ รวมถึงสร้างงานที่มีศักดิ์ศรีและวิถีชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน


  • ส่งเสริมการบริโภคในขอบเขตที่เหมาะสม: ประเทศที่มีการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ในปริมาณสูงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมาสู่การบริโภคอาหารจากพืชเป็นหลัก รวมถึงลดการบริโภคเนื้อสัตว์และนม เพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกจะสามารถรองรับได้ การเปลี่ยนแปลงนี้นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของคนแล้ว ยังช่วยเพิ่มพื้นที่และทรัพยากรสำหรับระบบการผลิตเชิงเกษตรนิเวศที่หลากหลายและยั่งยืนยิ่งขึ้น

ลิ้งก์

เอกสารวิสัยทัศน์ฉบับเต็ม

คู่มือการประยุกต์ใช้ในบริบทท้องถิ่น

เอกสารวิสัยทัศน์ฉบับเต็ม

บทวิเคราะห์

คู่มือการประยุกต์ใช้ในบริบทท้องถิ่น

เอกสารวิสัยทัศน์ฉบับเต็ม

คู่มือการประยุกต์ใช้ในบริบทท้องถิ่น

คู่มือการประยุกต์ใช้ในบริบทท้องถิ่น

คู่มือการประยุกต์ใช้ในบริบทท้องถิ่น

ร่วมมือกับเรา

องค์กรที่สนใจสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ระดับโลกเพื่อยุติการผลิตสัตว์เชิงอุตสาหกรรมกับเราได้ เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อแสดงความตั้งใจของคุณ

เป้าหมายหลักของเราคือการผลักดันให้โลกก้าวไปสู่การยุติการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม พร้อมสนับสนุนทางเลือกใหม่ๆ ที่ดีกว่าและเป็นไปได้ โดยมุ่งสร้างการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม สู่ระบบอาหารที่มีความเสมอภาค มีมนุษยธรรม และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น


เอกสารวิสัยทัศน์ของเราเน้นย้ำความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยวิเคราะห์ผลกระทบสำคัญใน 7 ด้าน ได้แก่ การดำรงชีวิต สิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน อธิปไตยทางอาหารและความมั่นคงทางอาหาร สภาพภูมิอากาศ สุขภาพของประชาชน และสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมทั้งเสนอแผนงานเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบอาหารที่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ระบบที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนแบบประชาธิปไตย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ เสริมสร้างความเข้มแข็งของแรงงาน รวมไปถึงยกระดับอธิปไตยทางอาหารและความมั่นคงทางอาหาร


เอกสารฉบับนี้ได้รับการรับรองจากองค์กรภาคประชาสังคมทั่วโลก และถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการรณรงค์ในทุกระดับ ทั้งชุมชนท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับประเทศ และนานาชาติ หากคุณเชื่อในเป้าหมายเดียวกับเรา ร่วมลงชื่อเพื่อสนับสนุนการรณรงค์ระดับโลกครั้งนี้ เพื่อช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนของทุกคน

โปรดอัปโหลดโลโก้ของคุณหากคุณต้องการให้ปรากฏบนหน้าแรกของสมุดปกขาว

งานด้านการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) ของเรา

สมุดปกขาวและแผนงานการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตสัตว์เชิงอุตสาหกรรม สู่ระบบอาหารที่เป็นธรรม มีมนุษยธรรม และยั่งยืน ถูกจัดทำขึ้นโดยผู้มีส่วนร่วมกว่า 50 คนจากองค์กรต่างๆ ที่มุ่งมั่นในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมเพื่อยุติการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ผ่านกระบวนการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงองค์กรแรงงานในห่วงโซ่อุปทาน (เช่น สหภาพแรงงาน แรงงานฟาร์ม และแรงงานในโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์) เกษตรกรรายย่อย ชาวประมงรายย่อย คนทำปศุสัตว์ ผู้หญิงและเยาวชนในภาคเกษตรกรรม กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเกษตรกร และองค์กรที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยมีผู้แทนจาก 72 องค์กรใน 35 ประเทศร่วมให้ข้อเสนอแนะ


ในขณะที่เราทำงานร่วมกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับโลกเพื่อยุติการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เราตระหนักถึงความสำคัญของการรับฟังมุมมองและความต้องการที่หลากหลายจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ เนื้อหาของเอกสารนี้จึงสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ หลักการ และแนวทางสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลง แต่รายละเอียดบางประการอาจไม่สามารถสะท้อนมุมมองและการจัดลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละองค์กรได้อย่างครบถ้วน

ร่วมมือกับเรา

ผู้เขียน

ผู้มีส่วนร่วม

ผู้รับรอง

ติดต่อ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: Stephanie Feldstein, Director of Population and Sustainability at Center for Biological Diversity and  Elodie Guillon, International Network Manager at World Animal Protection. 

Copyright © 2024 .  A Just Transition

Center for Biological Diversity .  World Animal Protection  .  Brighter Green  .  Aquatic Life Institute  .  Global Forest Coalition

All Rights Reserved

  • Home

Powered by

This website uses cookies.

We use cookies to analyze website traffic and optimize your website experience. By accepting our use of cookies, your data will be aggregated with all other user data.

Accept